fly

ปฏิทิน

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 3

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตร
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
มีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “ การพัฒนาหลักสูตร ” ไว้ดังนี้
สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนหลักสูตรว่า “ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ ๒ ลักษณะ คือ
• การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
• การทำให้เกิดขึ้น
ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน ๒ ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร ”
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ ๒ ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย

ใบงานที่ 1

อธิบายความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและสารสนเทศ

1. การจัดการ หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างเฉลียวฉลาด และคุ้มค่า ส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) หมายถึงการตัดสินใจอย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติการได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผลสำเร็จของการจัดการต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กันไป
การบ ริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกัน กำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 14 ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ blogger

ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ blogger





เป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการเรียน สามารถนำไปพัฒนางานในหน้าที่การเรียนการสอน โดยเฉพาะการบริหารงานโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ของบุคลากรในโรงเรียน และยังสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกทักษะในการใช้และเรียนรู้คอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย เมื่อประเมินแล้วพบว่าการสร้างบล็อคมีส่วนดีดีทั้งสองบล็อกแต่รูปแบบการใช้ และกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกันบ้าง



เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ blogspot กับ gotoknow



1. กลุ่มผู้ใช้บล็อก gotoknow มากกว่า blogspot



2. รูปแบบบล็อก blogspot สวยกว่า gotoknow



3. blogspot เหมาะกับการจัดการกลุ่ม มากกว่า gotoknow



4. gotoknow เมาะกับการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมากกว่า blogspot

ใบงานที่ 12 การใช้งานโปรแกรม SPSS for Window

ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS

Ø Title Bar บอกชื่อไฟล์



Ø Menu Bar คำสั่งการทำงาน



Ø Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร



Ø Cases ชุดของตัวแปร



Ø Variable กำหนดชื่อตัวแปร



Ø View Bar มีสองส่วน



1. Variable View สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร



2. Data View เพิ่มและแก้ไขตัวแปร



Ø Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน





การเปิด SPSS Data Editor



ไปที่ File -> New -> Data แล้วกำหนดชื่อและรายละเอียดจากหน้าจอ Variable Viewป้อนข้อมูล Data View บันทึกข้อมูล File -> Save

การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร



ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี คือ



1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก



2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่างเมื่อได้หน้าต่างของ Variable View



1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex



2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK



3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ



4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร



5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ



5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …



5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง



6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร .จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)



7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา



8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล



8.1 Scale (Interval, Ratio)



8.2 Ordinal



8.3 Nominal



ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว



การวิเคราะห์ข้อมูล

1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies



2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล



3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร



4. คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics



5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics



6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue



7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ใบงานที่ 9 ลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ

ให้นักเรียนสรุปคุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบันนักศึกษาคิดว่าน่าจะไปอย่างไร ขอให้เขียนตอบลงใน Webboard แต่ละคน

นักบริหารมืออาชีพต้องมีคุณลักษณะภายในตนที่สามารถปลูกฝังและฝึก



1) มีวิสัยทัศน์ มีสายตาที่ยาวไกล ก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา

2) ตรงไปตรงมา มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างสูงสุด

3) ทำงานโดยมุ่งผลสำเร็จมากกว่ามุ่งกระบวนการ

4) มองปัญหาชัดใช้ปัญญาในการการแก้ปัญหาและกล้าตัดสินใจ

5) เป็นผู้มีศิลปในการประนีประนอม

6) การทำงานเป็นทีม

7) ซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม

ใบงานที่ 8




ตามที่อาจารย์ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS ทบทวนพื้นฐานโดยให้นักศึกษาสรุปหัวข้อประเด็นดังนี้


1.ความหมายคำว่าสถิติ อ่านความหมายจากนักวิชาการหลาย ๆท่านแล้วสรุปเป็นความคิดของนักศึกษา


สถิติ หมายถึง หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสำหรับเปรียบเทียบ


2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด


ค่าเฉลี่ย คือ ผลรวมของค่าสังเกตหรือค่าของตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจทุกค่าของข้อมูล แล้วหารด้วยจำนวนตัวอย่างของข้อมูล


ค่ามัธยฐาน เป็นค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาตำแหน่งของข้อมูลที่อยู่ตรงกลางโดยที่ข้อมูลต้องทำการเรียงลำดับตามปริมาณจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากก็ได้


ค่าฐานนิยม (Mode )ค่าฐานนิยมเป็นค่ากลางซึ่งจะนำมาใช้ในกรณีที่ข้อมูลมีการซ้ำกันมากๆจนผิดปกติ ซึ่งค่าฐานนิยมจะเป็นค่ากลางหรือตัวแทนของข้อมูลที่สามารถอธิบายลักษณะที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่ามัธยฐาน


ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: s.d.) เป็นการวัดการกระจายแบบหนึ่งของกลุ่มข้อมูล สามารถนำไปใช้กับการแจกแจงความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม ประชากร หรือมัลติเซต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมักเขียนแทนด้วยอักษรกรีกซิกมาตัวเล็ก (σ)


ทั้งหมดเป็นสถิติ สถิติพรรณา


3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ


ประชากร(Population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มของสิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่างๆ


กลุ่มตัวอย่างกลุ่ม(Sample)หมายถึง เป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยสนใจ กลุ่มตัวอย่างที่ดีหมายถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะต่างๆที่สำคัญครบถ้วนเหมือนกับกลุ่มประชากร เป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากรได้


ประชากร คือ จำนวนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างเป็นส่วนหนึ่งของประชากร เช่น


ประชากร จำนวนครูในโรงเรียนทั้งหมด 10 คน


กลุ่มตัวอย่าง จำนวนครูในโรงเรียนทีเลือกมาบางส่วนจาก 10 คน


4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน ท่านเข้าใจอย่างไร อธิบายสั้น ๆ


มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) ลักษณะเด่นของมาตรานี้คือ เป็นตัวแปรที่ถูกจัดเป็นกลุ่มๆ โดยที่ตัวแปรนี้ไม่สามารถจัดลำดับก่อนหลัง หรือบอกระยะห่างได้ เช่น เพศ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือเพศชาย และเพศหญิง


5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร


ตัวแปร (Variable) หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถแปรค่าได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับสติปัญญา เชื้อชาติ เป็นต้น6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง






ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้


ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด






สมมุติฐาน คือ จุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้า และเป็นข้อความที่เสนอคำตอบที่คาดคิดว่าน่าจะเป็นสำหรับปัญหาการวิจัยที่กำหนดศึกษา


ประเภทของสมมุติฐานการวิจัย


1.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยไม่คำนึงมีการทดสอบทางสถิติ


2.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยการทดสอบทางสถิติ


7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร


โดยทฤษฏี t- test ใช้เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก ( n < 30 )แต่ในทางปฏิบัติ t- test ใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดใดก็ได้ ขอเพียงแต่ให้ประชากรของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมามีการแจกแจงปกติ หรือเข้าใกล้การแจกแจงปกติ ( Weiss. 1995 :537 )


ถ้า ให้ทดสอบด้วย F - test ถ้าค่า F - test ไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ให้ใช้ poolet t –test แต่ถ้ามีนัยสำคัญทางสถิติตามระดับที่ตั้งไว้ ให้ใช้ Nonpooled t – test

ใบงานที่ 6 ประโยชน์ของ google

1. การใช้คุณประโยชน์ของ Google Search Bar อย่างมีประสิทธิภาพอย่างผู้เชี่ยวชาญ

การค้นหาสิ่งมากมายบน Google ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำด้วยเคล็ดลับพิเศษแบบฉบับผู้เชี่ยวชาญในชีวิต LifeStream ของเหล่านักพัฒนาและผู้เสพสื่อแบบเรา ๆ ชาว IT ก็คงจะผ่านตา Google ที่เรารู้จักในนามตัวแทนแห่งเครื่องมือการค้นหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด เราสามารถแสดงวิธีค้นหาข้อมูล

ที่ต้องการแบบทันทีทันใดผ่านเครื่องมือค้นหาตัวนี้ ตั้งแต่ ข้อมูลภาพยนตร์ เพลงหรือ ศิลปินที่เรา อยากจะค้นหา และยังมีเรื่องง่าย ๆ กับข้อมูลที่เก่าเก็บด้วยการกดดู Cache ของ Google เพื่อดูเนื้อหาที่ผ่านมาแล้วหลายปี

Google คือ ผู้ให้บริการ Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผู้นิยมใช้งานมากกว่า 80% จากผู้เล่นอินเตอร์เน็ตทั้งหมด Google นอกจากจะให้บริการ Search Engine แล้ว ยังมีบริการอื่นๆที่มีประโยชน์อีกมากมาย

ประโยชน์ของ Google ในการบริการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา (Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วย

บริการค้นหาต่อไปนี้

· Book Search : บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ

· Cached Links :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่ต้องการจะ

ค้นหา

· Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่สามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้

· Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา

· Definitions : หมวดคำศัพท์ที่สามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย

· File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก

· Groups : ถ้าอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้

· I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป

· Images : ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ

· Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา

· Movie : สามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้

· Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก

· News Headlines : บริการที่ทำให้สามารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์ · PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา

· Q&A : บริการใหม่ที่อยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง

· Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง

· Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง

· Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ

· Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์

· Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน · Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ

· Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ



2. บริการในกลุ่ม Google Services

· Alerts : บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์

· Answer : บริการตอบคำถามได้ทุกเรื่องที่อยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน

· Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog

· Catalogs : ในประเด็นที่สนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่สนใจและต้องการ

จะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์

· Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์

· Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่สามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม · Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS

· News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้ได้อ่านก่อนใคร

· Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย

· Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่าง ๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย · Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่สามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์

3. บริการในกลุ่ม Google Tools

· Blogger : เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของตัวเอง

· Code : เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code

· Desktop : เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

· Earth : เครื่องมือที่ทำให้สามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม

· Gmail : เป็นบริการอีเมลล์ฟรีและมีขนาดพื้นที่เก็บเมลล์ใหญ่จุใจ มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์ ที่สำคัญ Google ให้ใช้ฟรี · Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง

· Firetox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ใน

คอมพิวเตอร์

· Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ

· Talk : เครื่องมือที่ทำให้สามารถพูดคุย ส่งอีเมล์ กับเพื่อน ๆ แบบเรียลไทม์ออนไลน์

· Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google · Translate : เครื่องมือที่ทำให้สามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา

· Labs : กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่สามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี

· Google Adsense เป็นแหล่งทำเงินบนอินเตอร์เน็ตชั้นดี ไม่ใช่ระบบลูกโซ่แบบที่เห็น ๆ

กันในมากมายในบ้านเรา และที่ดีที่สุดคือไม่เบี้ยวเงินเราแน่นอน เมื่อเราทำยอดได้ตามเป้าหมาย กูเกิ้ลก็จะส่งเช็คมาถึงตู้จดหมายบ้านเรา

· Google Adwords ใช้สำหรับลงโฆษณากับกูเกิ้ล เป็นการโปรโมทเว็บไซต์ในระยะสั้น และค่อนข้างได้ผลดี (โดยเฉพาะเว็บภาษาอังกฤษล้วน) Google Adwords เองยังสามารถนำไปประยุกต์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย





2. การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการดังนี้



ในกรณีที่ผลลัพธ์ของการค้นหาแบบขั้นพื้นฐานยังไม่สามารถให้ผลที่ตรงตามความต้องการ การค้นหาขั้นสูงนี้จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งเงื่อนไขต่างๆเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด ถ้าคุณต้องการไปยังหน้าที่อยู่ด้านล่าง ท่านสามารถเข้าได้โดนคลิ๊กที่ลิงค์ ค้นหาขั้นสูง

คำอธิบายตามการใช้งานของการค้นหาขั้นสูง

การค้นหาขั้นสูงสนับสนุนการสืบค้นข้อมูลด้วยเงื่อนไขต่างๆหลากหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง และตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยรูปแบบของเงื่อนไขต่างๆที่ระบบสนับสนุนมีดังต่อไปนี้



ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้ทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ AND กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำทั้งสองเท่านั้น



Phrase Matching คือ ค้นหาวลีหรือข้อความที่ตรงตามรูปแบบนี้เท่านั้น โดยการใช้สัญลักษณ์ (" ") ครอบวลีหรือข้อความที่เราต้องการสืบค้น เช่น "ประมวลรัษฎากร"



ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งคำ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า ภาษี OR เงินได้ จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำใดคำหนึ่งก็ได้



ข้อมูลที่ไม่มีคำเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ NOT กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำว่า หนังสือ แต่ไม่มีคำว่า กระทรวง

หมายเหตุ: ผู้ใช้สามารถใส่คำค้นในช่อง A, B, C และ D พร้อมกันได้ โดยคำค้นในทุกช่องจะถูกนำมา And กันทั้งหมด



เลือกรูปแบบว่าจะค้นหาทั่วโลก โดยการเลือกเช็คบ๊อกซ์แล้วจึงกดค้นหา Google





กำหนดลักษณะการค้นหาได้แบบไวยากรณ์ ตัวอย่างเช่น "track" ใช้ไวยากรณ์ โดยใช้สัญลักษณ์(~) เช่น ค้นหาคำว่า “ track~ “ จะได้ผลการค้นหาของ track tracks tracking เป็นต้น

ใช้ไวยากรณ์ (เฉพาะภาษาอังกฤษ)





สามารถกำหนดกลุ่มคำที่สะกดไม่เหมือนกัน เพื่อสืบค้นได้ (หรือใช้ สัญลักษณ์ % ซึ่งได้อธิบายวิธีการใช้ไว้ในหน้า Basic Search) ซึ่งเลขระดับของการสะกดผิดจะแสดงถึง จำนวนตัวอักษรที่น่าจะสะกดผิด เช่น ค้นหาคำว่า สันพากร เมื่อค้นหาจะได้ผลลัพธ์ของเอกสารที่มี คำว่า สรรพากร เป็นต้น

สะกดคำผิดได้ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ระดับ





กำหนดหมวดในการค้นหา ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ในส่วนกลาง (ทุกหมวด), ค้นหาข้อมูลที่ถูกจัดไว้ในหมวดประมวลรัษฎากร

กรมสรรพากร ประมวลรัษฎากร คำพิพากษาฎีกา ความรู้เรื่องภาษี ข้อหารือภาษีอากร



กำหนดขอบเขตการค้นหาแบ่งตามหน่วยงานของกรมสรรพากร ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในภาค 1 จากทุกสำนักงานพื้นที่

ทั้งหมดภาค1ภาค2ภาค3ภาค4ภาค5ภาค6ภาค7ภาค8ภาค9ภาค10ภาค11ภาค12 ทุกสำนักงานพื้นที่



กำหนดรูปแบบผลลัพธ์ของภาษา เช่น กำหนดให้แสดงผลลัพธ์เฉพาะเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย หรือ ทุกภาษา



ทุกภาษา ไทย English





กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์

เรียงตาม: คะแนน ชื่อเอกสาร ขนาดเอกสาร แสดง 10 15 20 30 50 รายการ/หน้า





กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์

ทุกประเภท Word Document (.doc) Excel Worksheet (.xls) Power Point Presentation (.ppt) Acrobat Portable Document (.PDF) Hypertext Markup Language (.html) Text Documents(.txt)







กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์

ทุกขนาด ขนาดเล็ก(น้อยกว่า100kb) ขนาดกลาง(100kb-1Mb) ขนาดใหญ่(มากกว่า1Mb)









3. Web ที่ใช้ค้นหาข้อมูลนอกจาก google แล้ว ยังมี sanook.com, yahoo.com, altavista.com, excite.com, webcrawler.com



4. หมวดหมู่ในการค้นหาโดยใช้ google

เว็บ,รูปภาพ, แผนที่ ,แปลภาษา, กูรู, บล็อก ,Gmail ,เพิ่มเติม , ไดเรกทอรี ,ปฏิทิน ,ภาพถ่าย ,เอกสาร ,ไซต์ Groups, Web History , การตั้งค่า , การตั้งค่าการค้นหา ,การตั้งค่าบัญชี Google



ที่มา http://intersearch.rd.go.th/search/HelpAdvance.aspx