fly

ปฏิทิน

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12 การใช้งานโปรแกรม SPSS for Window

ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS

Ø Title Bar บอกชื่อไฟล์



Ø Menu Bar คำสั่งการทำงาน



Ø Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร



Ø Cases ชุดของตัวแปร



Ø Variable กำหนดชื่อตัวแปร



Ø View Bar มีสองส่วน



1. Variable View สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร



2. Data View เพิ่มและแก้ไขตัวแปร



Ø Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน





การเปิด SPSS Data Editor



ไปที่ File -> New -> Data แล้วกำหนดชื่อและรายละเอียดจากหน้าจอ Variable Viewป้อนข้อมูล Data View บันทึกข้อมูล File -> Save

การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร



ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี คือ



1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก



2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่างเมื่อได้หน้าต่างของ Variable View



1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex



2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK



3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ



4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร



5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ



5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …



5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง



6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร .จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)



7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา



8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล



8.1 Scale (Interval, Ratio)



8.2 Ordinal



8.3 Nominal



ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว



การวิเคราะห์ข้อมูล

1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies



2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล



3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร



4. คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics



5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics



6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue



7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น